วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 6 เรื่อง เครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
ตอบ
เครือข่าย  คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้
2. จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เน็ต
ตอบ
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก
3. จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้
     3.1 แบบดาว
     ตอบ
1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติอต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง

    
      ข้อดี      1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
      2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
      3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
      4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
      5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
      ข้อเสีย      1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
      2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
      3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
      4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง มส
     3.2 แบบวงแหวน
     ตอบ
2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
    
           ข้อดี
           1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิดเหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง
           2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลายๆสถานีพร้อมกัน
           3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
           4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร

           ข้อเสีย
           1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้
           2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี
           3. เวลาจะส่งข้อมูลจะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้
           4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า
    

3.3 แบบบัส
     ตอบ
3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่าบัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)
          ข้อดี
          1. โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
          2. ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก
          3. การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ
          4. หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้นๆแต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ

          ข้อเสีย
          1. หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก
          2. หากสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้

 3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้
     ตอบ
 เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)  เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน
 
ข้อดี คือ ประการแรกสามารถเพิ่มระยะทางระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น ประการที่สองคือทำให้สามารถกำหนดระดับความสำคัญ (priority) ของเครื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับศูนย์กลาง มีระดับความสำคัญสูงกว่าเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับทุติยภูมิทุกตัว นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกลุ่มหรือวงของเครือข่ายย่อยได้อีกด้วย
ข้อเสีย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด จะหาจุดตรวจสอบได้ยาก เพราะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง และในกรณีที่ สายสัญญาณบัสเกิดชำรุดเสียหาย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้
4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบบเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ
ตอบ
1.โมเด็ม (Modem)

2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN 

3. เกตเวย์ (Gateway)
4. เราเตอร์ (Router)

5. บริดจ์ (Bridge)

6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
7.  สายสัญญาณ


สาย Coax 


-สาย UTP(Unshied  Twisted  Pair)

8.  ฮับ (HUB) 
5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ
    5.1 LAN
    ตอบ
 LAN (Local Area Network)
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน 
    5.2 WAN
    ตอบ
(Wide Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ
เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร
    5.3 Frame Relay
    ตอบ
 เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น
    5.4 Ethernet
    ตอบ
คือ เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
    5.5 Internet
    ตอบ
คือ คำย่อของคำว่า internetwork เป็นระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์เครือข่ายหนึ่ง ซึ่งติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายใหญ่ด้วย gateway ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศ และข่าวสารถึงกันได้อย่างกว้างขวาง
    5.6 Protocol
    ตอบ
 ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน 
    5.7 Fiber optic
    ตอบ
Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป
    5.8 ATM
    ตอบ
Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด 
    5.9 VPN
     ตอบ
Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา
มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Private Network 
6. จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกียวข้องกับระบบเครือข่ายมา 20คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษตอบ
1.ADDRESSที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์
2.ADSLAsymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี
DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย
3.ATMAsynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM
นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
4.Backbone
เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
5.Bandwidthแบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet
นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
6.Bridgeบริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets)
ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
7.BROSWERโปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet
เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera
8.Client
ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
9.COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email
10.DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์
11. DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet
12. DOMAIN
กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
13. DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
14. DSLเป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
15. EISAการเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว
16. E-MAILElectronic Mail จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย
17. ETHERNETอีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T
18. Extranetเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
19. Fast Ethernet
เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX
20. FDDI
เป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่



วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่3

ใบงาน บทที่ 3
เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

1. คอมพิวเตอร์คืออะไร
ตอบ
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
2. ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้สมบูรณ์มากที่สุด
ตอบ



















3. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ตอบ
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
        1.      การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
          การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
        2.      การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)
          เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
 3.   ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability)
 คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้  ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4.   การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
          คอมพิวเตอร์ทีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร
       5.การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
 คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
4. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ
  ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
            1.คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก               
            2.คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล
            3.คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม
5. งานด้านการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด
เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพราะซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นเพราะมีการพัฒนาให้มี
โครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่น การคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี
(Massively Parallel Processing : MPP)ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลายๆ ตัวในเวลาเดียวกัน
6. ระบบงานจองห้องพักของโรงแรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด
เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ
ทุกประเภท  เพราะคอมพิวเตอร์ทุกประเภทสามารถจองห้องพักของโรงแรมได้
7. ระบบงานธนาคาร ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์   เพราะมีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่
8. คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ค จัดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด
ตอบ
ไมโครคอมพิวเตอร์
9. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ
5 ด้าน    คือ
1. ฮาร์ดแวร์
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล/สารสนเทศ
4. บุคคลากร
5. กระบวนการทำงาน
10. ให้นักเรียนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ
ตอบ


11. ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์ และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียน
ตอบ
การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
12.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่อย่างไร
และนักเรียนคิดว่าทุกคนมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ
คอมพิวเตอร์มีความจำเป็น    เพราะเราต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งงานครูและค้นหาข้อมูลทำงานราย
มีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    เพราะเราจะได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้